วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ข้อมูลมีคุณค่า

 


ข้อมูลมีคุณค่า

แท้จริงแล้วข้อมูลของคุณมีมูลค่าเท่าไร

ยุคของข้อมูลและสารสนเทศ (Information Age)

      ในยุคของข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และการคมนาคม  ทำให้การนำข้อมูลมาใช้ไม่สะดวก ไม่ทันกาล สูญหายง่าย


การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (digitization) และการพัฒนาการของการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต 

        ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศได้ทุกที่ทุกเวลา


  • ระบบแผนที่นำทาง (Global Positioning System: GPS)

       นอกจากแสดงสถานที่ต่างๆ แล้ว ยังมีข้อมูลสภาพการจราจร ระยะเวลาเดินทาง ซึ่งมีความแม่นยำ ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย


  • แผนที่กระดาษ  

ไม่สามารถแสดงข้อมูลการจราจรที่เป็นปัจจุบัน และไม่สามารถวางแผนการเดินทางได้


  • การอัพโหลดรูปภาพส่วนตัว การส่งอีเมล์ในแต่ละวัน การโพสต์ข้อความในสื่อสังคมออนไลน์ การส่งต่อข้อความผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดิจิทัลเหล่านี้ ผู้ใช้คนอื่นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้
“ข้อมูลนั้นมีค่าดั่งน้ำมันดิบ”คือ ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ได้ถูกนำมาประมวลผล ก็จะไม่เกิดคุณค่าใดๆ
  • เฟซบุ๊ก (Facebook)
  1. เฟซบุ๊ก รวบรวมข้อมูลผู้ใช้
  2. เฟซบุ๊ก นำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลผลเป็นสารสนเทศที่บอกคุณลักษณะของผู้ใช้ และใช้สารสนเทศนี้ในการนำเสนอหรือโฆษณาสินค้าหรือบริการ
  3. บริษัทเจ้าของสินค้าหรือบริการ จะจ่ายค่าโฆษณาให้กับเฟซบุ๊ก เช่น บริษัทธุรกิจรถยนต์ ธนาคาร อาหาร-เครื่องดื่ม โทรศัพท์มือถือ ร้านค้า เกมออนไลน์
  • วิทยาการข้อมูล (Data Science)เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร การทำงานในลักษณะนี้ ต้องอาศัยความรู้และทักษะผสมผสานศาสตร์หลายด้านเข้าด้วยกัน 
  1. เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ วิธีการ หรือเทคนิค ในการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลมาประมวลผล เพื่อให้ได้องค์ความรู้ เข้าใจปรากฏการณ์ ใช้ตีความ ทำนาย พยากรณ์ ค้นหารูปแบบ แนวโน้มจากข้อมูล และสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอด 
  2.  เพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสมไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด
  • กระบวนการวิทยาการข้อมูล (Data Science Process)
กระบวนการของวิทยาการข้อมูลประกอบไปด้วย
  1. การตั้งคำถาม
  2. การเก็บรวบรวมข้อมูล 
  3. การวิเคราะห์ข้อมูล 
  4. การสื่อสารและทำผลลัพธ์เป็นภาพสู้ผู้ใช้กลุ่มเป้าหมาย
  • การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) การนำข้อมูลผลลัพธ์จากกระบวนการของวิทยาการข้อมูลมาใช้สำหรับสื่อสาร  ทำให้เข้าใจปัญหาหรือสถานการณ์มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่เข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้
หลักการพื้นฐานของแนวคิดเชิงออกแบบ ประกอบด้วย
1.การมองในมุมมองของผู้ใช้ 
2.การลองผิดลองถูกและเรียนรู้ผ่านการทดลองกับกลุ่มผู้ใช้จริง
3.การทำซ้ำและปรับปรุง


อ้างอิงจาก medium.com/@pruksanant.poj

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฟอร์มของสุมัชญา

  กำลังโหลด…